เมนู

ก็แล ความริษยาและความตระหนี่ที่เป็นเครื่องประกอบ (สัตว์ไว้ใน
ภพ) นี้ จะละได้ก็ด้วยโสดาปัตติมรรค. ตลอดเวลาที่ยังละมัน ไม่ได้ เทวดา
และมนุษย์ แม้ปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวรเป็นต้น อยู่ก็ตาม ก็หาได้รอดพ้น
ไปจากเวรเป็นต้นไม่เลย. บทว่า ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยในปัญหานี้
ได้แล้ว
ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า ในปัญหานี้ เพราะฟังพระดำรัสของ
พระองค์ ข้าพระองค์จึงข้ามความสงสัยได้แล้ว. ท้าวสักกะไม่ได้ทรงแสดง
ความที่ทรงข้ามความสงสัยได้ด้วยอำนาจมรรค. คำว่า ความสงสัยที่ต้อง
ถามว่าอย่างไร ๆ ปราศไปแล้ว
คือความสงสัย แม้นี้ว่า อย่างไรนี้
นี้อย่างไร ปราศไปแล้ว.
คำมี เค้ามูลเป็นต้น มีใจความอันได้กล่าวไว้เสร็จแล้ว. บทว่า
มีที่ชอบและที่ชังเป็นเค้ามูล คือ ความตระหนี่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
เป็นเค้ามูล ริษยามีสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นเค้ามูล หรือทั้งสองก็มี
ทั้งสองเป็นเค้ามูล. ก็สำหรับนักบวช ลูกศิษย์ลูกหาเป็นต้น สำหรับชาวบ้าน
ลูกเป็นต้น หรือสัตว์ก็มีช้างม้าเป็นต้น ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่หยอกล้อ เป็นที่
ยึดถือว่าของเรา. เมื่อไม่เห็นพวกเหล่านั้น แม้ครู่เดียวก็ทนไม่ได้. เมื่อเขา
ได้เห็นคนอื่นผู้ได้สัตว์ที่น่ารักอย่างนั้นก็เกิดริษยา ถูกคนอื่นขอสัตว์นั้นเองว่า
พวกเรามีงานบางอย่างด้วยสัตว์นี้ โปรดให้ยืมสักครู่เถิด ก็ให้ไม่ได้ กล่าวว่า
เขาจะเหนื่อยหรือเขาจะกลุ้ม แล้วก็เกิดความตระหนี่. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็น
อันว่า ความริษยาและความตระหนี่แม้ทั้งสอง มีสัตว์อันเป็นที่รักเป็นเค้ามูล.
ก็แหละ สำหรับภิกษุบริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือสำหรับชาวบ้าน
อุปกรณ์มีเครื่องประดับ เป็นต้น ย่อมเป็นที่รักที่ชื่นใจ. เมื่อเขาเห็นสิ่งชนิดนั้น
กำลังเกิดแก่คนอื่น ก็เกิดความริษยาว่า โอ้หนอ ขอสิ่งเห็นปานนี้ ไม่พึงมีแก่
คนนั้น และแม้ถูกขอก็เกิดความตระหนี่ว่า แม้พวกเรากำลังรัก ยังใช้สอยสิ่งนี้